ศาสตร์พระราชา
ศาสตร์พระราชา
ศาสตร์พระราชา คือ โครงการตาม พระราชดำริสี่พันกว่าโครงการ
มีหมวด ดิน น้ำ การเกษตร แปรรูป การปลูกป่า ปลูกต้นไม ้ ปลูก พืช ผักสวนครัว และอื่นๆ
เศรษฐกิจพอเพียง
20 ปีที่คนไทยรู้จัก “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” พระราชทานเป็นแนวทางในการนำพาประเทศไทยให้ข้ามพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หรือ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ “ฟองสบู่แตก” จนหลายภาคส่วนน้อมนำหลักปรัชญานี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยอาจารย์ยักษ์ หรือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้เด็ดเดี่ยวตามรอยในหลวงให้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต ได้ศึกษาและเขียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาตลอดตั้งแต่ปี 2540 จวบจนทุกวันนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษา จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดย “มูลนิธิมั่นพัฒนา” ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2557
ฝายชะลอความชุ่มชื้น( Check Dam) หรือฝายแม้ว
ใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายในท้องถิ่นเช่นก้อนหินและไม้เพื่อก่อเป็นฝายขวางร่องน้ำหรือห้วยเล็กๆทำหน้าที่กักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลงและให้น้ำสามารถซึม ลงใต้ผิวดินสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น อีกทั้งยังช่วยดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง
ทฤษฎีใหม่
เป็นการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กบนผิวดินในพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรโดยแบ่ง ที่ดินสำหรับใช้ขุดเป็นสระเก็บน้ำให้สามารถใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปีและสามารถ เลี้ยงปลาไปพร้อมๆกันนอกจากนี้บริเวณขอบสระยังสามารถใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ได้อีกด้วย
การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ 2 วิธี
วิธีที่ 1 การใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยการใช้น้ำหมักชีวภาพปริมาณ 1 ต่อ 500 ส่วนราดลงทั้งในน้ำทิ้งจากครัวเรือน ตลาดสดฟาร์มปศุสัตว์หรือโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย อินทรีย์สารในแหล่ง น้ำนอกจากนี้น้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้ได้ดีในการปรับสภาพน้ำในบ่อประมงทั้งบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาได้เป็นอย่างดี วิธีที่ 2 ลูกระเบิดจุลินทรีย์ เป็นการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้ดีขึ้นด้วยจุลินทรีย์เช่นเดียวกับการใช้น้ำ หมักประกอบด้วยโคลนจากท้องน้ำ 50กิโลกรัม,ร้า 10 กิโลกรัม,ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดหรือ ผง 50 กิโลกรัมและน้ำหมักชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้ว 3 เดือนขึ้นไปโดยนำทุกอย่างมาผสมเข้าด้วยกันจนสามารถปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกเปตองนำไปผึ่งไว้ในที่ร่ม จนแห้งสามารถนำไปบำบัดน้ำได้โดยใช้ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ล้านลิตร หรือ 25 กิโลกรัมต่อพื้นที่ไร่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่เน่าเสีย
ในบริบทของท้องถิ่นนั้นปัจจุบันได้มีการน้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าว มาปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตาม “แผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น ในด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ” (Local Sufficiency Economy Plan : LSEP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นทางเดินที่ถูกทางแล้ว เราชาว อปท. มาช่วยกันนำทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมกันหน่อย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น